“สูดสายหมอก บนเขาเขียว ท่องเที่ยววิถีมอญ”
อนุรักษ์บ้านมอญ แบบดั้มเดิมกันที่….บ้านพุองกะ
หมู่บ้านพุองกะ เป็นหมู่บ้านที่มีพุน้ำเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีชุมชนกลุ่มพื้นที่สูงซึ่เป็นกลุ่มชนชาวกระเรี่ยงเข้ามาอาศัยภายในหมู่บ้านเป็นกลุ่มแรก ๆ ตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมี “นายองกะ”เป็นหัวหน้ากลุ่มที่คอยดูแลชาวบ้านและเป็นผู้ค้นพบพุน้ำในหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงให้เกียรติกับนายองกะ มาตั้งรวมกับชื่อของพุน้ำ รวมกันเป็นชื่อของ “บ้านพุองกะ” ต่อมาได้มีการย้ายถิ่นฐานของชาวญวน ชาวอยุธยา ชาวสุรินทร์ ชาวมอญ ชาวพม่ อพยพมาตั้งรกรากทำให้ชาวกระเหรี่ยงกลุ่มของนายองกะบางส่วนที่ไม่ชอบอยู่กับคนมากๆ จึงพากันย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น ในหมู่บ้านมีตะเคียนขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ตรงบริเวณพุต้นน้ำ เรียกว่า”พุตะเคียน” ซึ่งมีศาลเจ้าแม่ตะเคียนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนในหมู่บ้านเคารพบูชามาจนถึงปัจจุบัน และได้นำมาตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้านด้วยซึ่งบ้านพุตะเคียนยังเป็นส่วนหนึ่งของหมู่ที่ 4 ตำบลท่าเสา ทำให้ผู้คนจากหลายพื้นที่ย้ายเข้ามาทำกิน เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันบ้านพุองกะมีนางสาวมัทนา ศรอารา เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค