“ไม่มาได้ไง๊จุดกำเนิดว่าวไทย อยู่ที่นี่”
ชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่งในตำบลสารจิตร อำภอศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย เมื่อฟังจากชื่อหมู่บ้านแล้วไม่แปลกใจเลยว่าทำไมคนภายนอกต้องนึกถึงคำว่า “คุก” ที่หมายถึง
เรือนจำนักโทษ บ้างก็คิดว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นนักโทษซึ่งมีน้อยคนจะทราบว่าหมู่บ้านนี้มีชื่อมาจากตำนานความรักของพระร่วงเจ้า ตามตำนานผระร่วงเจ้าบนพื้นที่แห่งนี้ได้กล่าวขานเล่าต่อให้ลูกหลานฟังว่า เมื่อสมัยพระร่วงเจ้าเป็นผู้ปกครองแผ่นดินแห่งนี้ ทรงกำลังเล่นว่าวอยู่กลางถนน(ถนนพระร่วงในปัจจุบัน) แล้วบังเอิญไปผบเห็นหญิงงาม
ที่สุดของหมู่บ้านแก่งหลวง นามว่า “นางคำ”กำลังดำนาอยู่กลางทุ่ง พระร่วงเจ้าจึงเกี้ยวพาราสีอยู่นานสองนาน นางคำจึงออกอุบายกับพระร่วงเจ้าให้สร้างสะพานข้ามลำคลอง
หากทรงทำได้จะยอมตกลงปลงใจ และด้วยวาจาสิทธิ์ของพระร่วงจึงสามารถเนรมิตสะพานขึ้นมาทันทีนางคำพอได้เห็นจึงตกใจกลัว และวิ่งหนีข้ามสะผ่านไปจากนั้นพระร่วงเจ้าจึงวิ่งตามนางคำ แต่ก็เกิดเหตุเสียก่อน พระองค์ไปสะดุดต่อไม้ล้มลงที่บ้านแสงตอพร้อมร้องไห้ด้วยความเจ็บซ้ำเสียใจ พระร่วงเจ้าจึงได้ “คุกเข่า”ขึ้นอีกครั้งพร้อม
มุ่งหน้าไล่ตามนางคำต่อไป ดังนั้นที่มาของ “บ้านคุก” จึงมาจากกิธิยาคุกเข่าของพระร่วงเจ้านั่นเอง และในปัจจุบัน”บ้านคุก” แบ่งออกเป็น 4 หมู่บ้านย่อยคือ บ้านคุก
บ้านคุกพัฒนา บ้านคุกเหนือ และบ้านคุกใต้